ติดตั้งโซล่าเซลล์ ต้องขออนุญาตการไฟฟ้าหรือไม่ ??

Last updated: 25 ส.ค. 2566  |  176683 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ติดตั้งโซล่าเซลล์ต้องขออนุญาตหรือไม่

ติดตั้งโซล่าเซลล์ ต้องขออนุญาตการไฟฟ้าหรือไม่ ??

      การติดโซล่าเซลล์ระบบออนกริด หรือระบบที่มีการเชื่อมขนานไฟจากการไฟฟ้าฯ “ต้องขออนุญาตหน่วยงานราชการ” โดยต้องขออนุญาตถึง 3 หน่วยงานด้วยกัน
      หลายๆท่านคงเกิดความสงสัยว่า ต้องของอนุญาตยังไง?? ติดต่อหน่วยงานไหนบ้าง?? ทีมงาน ECON SOLAR มาไขข้อสงสัยให้ท่านแล้ว..
     1. ต้องขออนุญาต/แจ้ง ให้หน่วยงานราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น สำนักงานเขต เทศบาลหรือ อบต. ในท้องที่ที่บ้านตั้งอยู่รับทราบการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ เพื่อขออนุญาตปรับปรุงอาคารเพื่อติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ โดยการยื่นเอกสาร ใบอนุญาติก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (อ.1)

โดยตามกฎกระทรวงมหาดไทย ปี 2558 ลงวันที่ 1 ต.ค. 2558 ระบุว่า


ติดแผงโซล่าเซลล์ บนหลังคาขนาดพื้นที่ไม่เกิน 160 ม.2 และมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 20 ก.ก./ม.2 ไม่ถือว่าเป็นการดัดแปลงอาคาร ซึ่งก็แสดงว่าไม่ต้องขอ แบบ อ.1

แต่ต้องมีผลการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงที่กระทำและรับรองโดยวิศวกรโยธาตามกฏหมาย และจะได้หนังสือคำร้องแจ้งติดตั้งโซล่าเซลล์แทน

***ต้องมีแบบคำนวณ โครงสร้างให้วิศวกรโยธา เซ็นแบบ ทั้ง 2 กรณี

      กรณี 1 ขอใบอนุญาติ อ.1           เมื่อ  ติดแผงโซล่าเซลล์ บนหลังคาขนาดพื้นที่  > 160 ม.2
                                                                        และมีน้ำหนักรวม  > 20 ก.ก./ม.2
      กรณี 2 ยื่นคำร้องแจ้งให้ทราบ      เมื่อ  ติดแผงโซล่าเซลล์ บนหลังคาขนาดพื้นที่ ≤ 160 ม.2
                                                                         และมีน้ำหนักรวม ≤ 20 ก.ก./ม.2

  • กรณีอาคารอยู่ในพื้นที่เขตควบคุมอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร จะต้องขออนุญาตดัดแปลงอาคารโดยการตรวจสอบพื้นที่เขตควบคุมอาคารฯ สามารถสอบถามได้ที่หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น เช่น สำนักงานเทศบาล / อบต. ในท้องที่ที่อาคารตั้งอยู่
  • กรณีอาคารตั้งอยู่นอกเขตควบคุมอาคาร ไม่ต้องขออนุญาตดัดแปลงอาคาร ยกเว้นเข้าข่ายเป็นอาคารขนาดใหญ่พิเศษ (พื้นที่ 10,000 ตร.ม. ขึ้นไป) หรืออาคารสูง (สูง 23 เมตร ขึ้นไป) ต้องขออนุญาตดัดแปลง (หากอยู่นอกเขตควบคุมอาคารให้ขอหนังสือรับรองจากหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นด้วย)
  • กรณีหลังคาของอาคารเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ไม่ต้องขออนุญาตดัดแปลงอาคาร เนื่องจากไม่เข้าข่ายเป็นการดัดแปลงอาคาร

 

      2. ขออนุญาต กกพ. หรือ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
         โดย ติดต่อ หน่วยงาน กกพ. : คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เพื่อ แจ้งยกเว้นฯ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
         กรณี (Inverter < 1,000 kVA)  1000 kVA*0.8 = 800 kW
         ผ่านช่องทางออนไลน์ ลงทะเบียนผ่านเว็บ app04.erc.or.th/elicense
         ต้องแนบหลักฐานต่างๆ พร้อม ใบอนุญาต อ.1 ที่ได้มาจากอบต.หรือสนง.เขต แต่ถ้าไม่มีใบ อ.1 ก็เป็นหนังสือคำร้อง
         แจ้งติดตั้งโซล่าเซลล์แทน  ถ้าหลักฐานในการยื่นออนไลน์เบื้องต้นครบถ้วน ก็ต้องปริ๊นเป็นกระดาษ เดินทางไปยื่นที่ สำนักงาน กกพ.เขต


      3. ยื่นขอขนานไฟฟ้าเข้ากับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
         ต้องมีแบบ Single Line Diagram โดยมีวิศวกรไฟฟ้าที่ได้รับใบอนุญาตเซ็นต์รับรอง โดยเมื่อติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ถูกต้อง
         มีเอกสารครบถ้วนแล้ว ยังต้องมี “แบบแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องของรับใบอนุญาต จากทาง กกพ.”
         ทาง กฟน. และ กฟภ. จึงเข้าตรวจสอบระบบถ้าผ่านจึงสามารถเริ่มใช้งานระบบโซล่าเซลล์ได้

          ขั้นตอนทั้งหมดอาจใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน และถ้ามีการจำหน่ายไฟฟ้า การไฟฟ้าจะต้องเปลี่ยนมิเตอร์ใหม่ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มและอาจใช้ระยะเวลามากขึ้น นอกจากนั้นจะมีขั้นตอนที่การไฟฟ้าจะต้องตรวจสอบขนาดพิกัดหม้อแปลงว่ามีผู้ขายไฟฟ้ารวมกันต้องไม่เกิน 15% ของขนาดพิกัดหม้อแปลงจึงจะรับซื้อ

 

สามารถอ่านข้อกำหนด เงื่อนไขต่างๆของการไฟฟ้าเพิ่มเติมได้

การไฟฟ้านครหลวง
ระเบียบการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า พ.ศ.2559 
รายชื่อ Inverter ที่ผ่านการพิจารณาจาก กฟน. เมื่อ 2 ก.ค. 2564 
รายชื่ออุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟฟ้าไหลย้อน (Zero Export Controller) เมื่อ 9 ก.ค. 2564 

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า พ.ศ.2559 
รายชื่อ Inverter ที่ผ่านการพิจารณาจาก กฟภ. เมื่อ 24 มิ.ย. 2564 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้