Last updated: 12 ก.ย. 2566 | 3692 จำนวนผู้เข้าชม |
แผนการผลิตไฟฟ้าของประเทศ แผน PDP 2022 (2565-2580) เป็นอย่างไร?
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้ทำการปรับแผนการผลิตไฟฟ้าของประเทศใหม่ จากแผน PDP 2018 (2564-2573) เป็นแผน PDP 2022 (2565-2580) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพลังงานชาติ ที่มีทิศทางสอดรับกับข้อตกลงที่ประเทศจะมุ่งสู่พลังงานสะอาด ลดการปลดปล่อยก๊าซ CO2 พร้อมสร้างความมั่นคงทางพลังงานอย่างยั่งยืน
การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 หรือ COP26 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 12 พฤศจิกายน 2564 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)ภายในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ.2593) และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions)ภายในปี ค.ศ. 2065(พ.ศ.2608) เพื่อก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ จึงต้องเปลี่ยนผ่านไปใช้พลังงานสะอาดให้มากขึ้น
แผน PDP 2022 ต่างจากแผน PDP 2018 อย่างไร?
แผน PDP 2022 จะมีแผนการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 15,343 MW เป็น 15,643 MW ซึ่งเพิ่มขึ้น 300 MW โดยแบ่งเป็นพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นจาก 9,193 MW เป็น 10,193 MW ซึ่งเพิ่มขึ้น 1,000 MW ส่วนก๊าซธรรมชาติ ลดลงจาก 5,550 MW เป็น 4,850 MW ซึ่งลดลง 700 MW ในส่วนถ่านหิน ผลิตที่ 600 MW เท่ากับแผนเดิม
ในส่วนพลังงานหมุนเวียนที่มีการเพิ่มขึ้นจากแผนเดิมนั้น แบ่งเป็น
1.พลังงานน้ำ จากต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจาก1,400 MW เป็น 2,766 MW ซึ่งเพิ่มขึ้น 1,366 MW
2. พลังงานแสงอาทิตย์ ลดลงจาก 5,194 MW เป็น 4,455 MW ซึ่งลดลง 739 MW
3. พลังงานลม เพิ่มขึ้นจาก 270 MW เป็น 1,500 MW ซึ่งเพิ่มขึ้น 1,230 MW
4. ชีวมวล ลดลงจาก 1,120 MW เป็น 485 MW ซึ่งลดลง 635 MW
5. ก๊าซชีวภาพ ลดลงจาก 783 MW เป็น 335 MW ซึ่งลดลง 448 MW
6. ขยะ(ชุมชน, อุตสาหกรรม) เพิ่มขึ้นจาก 400 MW เป็น 600 MW ซึ่งเพิ่มขึ้น 200 MW
7. พลังงานน้ำขนาดเล็ก เพิ่มขึ้นจาก 26 MW เป็น 52 MW ซึ่งเพิ่มขึ้น 26 MW
13 ก.ย. 2566
13 ก.ย. 2566
13 ก.ย. 2566
13 ก.ย. 2566