ประเทศไทยใช้ไฟฟ้ามากไหม? การผลิตไฟฟ้าสำรองมากเกินไปหรือไม่?

Last updated: 12 ก.ย. 2566  |  1754 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พลังงานไฟฟ้า

   

สถานการณ์ไฟฟ้าปี พ.ศ.2565 (สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.))
     การใช้ไฟฟ้า ภาพรวมเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3.5% อยู่ที่ 197,209 ล้านหน่วย จากการใช้ที่เพิ่มขึ้นในเกือบทุกสาขาเศรษฐกิจ ยกเว้น ครัวเรือนและภาคเกษตรกรรม สำหรับความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในระบบของทั้ง 3 การไฟฟ้า (System Peak) ของปี พ.ศ. 2565 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2565 ณ เวลา 14:30 น. ที่ระดับ 33,177 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้น 6.9% เมื่อเทียบกับ Peak ของปี พ.ศ. 2564 ที่ระดับ 31,023 เมกะวัตต์

     1. สัดส่วนการใช้ไฟฟ้าในแต่ละสาขาเป็นเท่าใด?
        อันดับ 1 สาขาอุตสาหกรรม ร้อยละ 45
        อันดับ 2 สาขาบ้านอยู่อาศัย ร้อยละ 28
        อันดับ 3 สาขาธุรกิจ ร้อยละ 23
        อันดับ 4 สาขาอื่นๆ ร้อยละ 4

     จากตาราง พบว่า จากสถาณการ โควิด-19 ในปี 63-64 ส่งผลให้การใช้พลังงานไฟฟ้าในทุกสาขาลดลง ยกเว้นสาขาครัวเรือน ที่มีการใช้เพิ่มขึ้นเนื่องจาก work from home
     ในทุกปีจะเห็นว่าช่วงเดือน มี.ค.-พ.ค จะมีการใช้พลังงานไฟฟ้ามากเนื่องจาก อยู่ในช่วงฤดูร้อน ซึ่งมีอุณหภูมิอากาศสูงกว่าถดูฝนประมาณ 5°C และสูงกว่าฤดูหนาวประมาณ 15°C (ดังตาราง) ส่งผลให้ระบบปรับอากาศใช้พลังงานไฟฟ้าสูงขึ้น โดยทุก 1°C จะทำให้ใช้พลังงานสูงขึ้น 2-4% จากกราฟการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศจะเห็นชัดเจนเนื่องจาก สาขาครัวเรือนและสาขาธุรกิจมีสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าถึง 51%

ตารางอุณหภูมิของประเทศไทยในแต่ละฤดู พ.ศ.2564

  หมายเหตุ :       1.ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศผิวพื้น 72 สถานี
                    2.ค่าปกติ 30 ปี พ.ศ. 2534-2563
                    3.ฤดูหนาวต้นปี(1 ม.ค.-15 ก.พ.), ฤดูร้อน(16 ก.พ.-15 พ.ค.)
                      ฤดูฝน(16 พ.ค.-15ต.ค.) และฤดูฝนปลายปี(16 ต.ค.-31 ธ.ค.)    

     2. การผลิตไฟฟ้าสำรองมากเกินไปไหม?

      สัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าจาก กฟผ. และโรงไฟฟ้าเอกชนมีดังนี้  กฟผ. = 32%, IPP = 31%, SPP = 17%, VSPP = 8% นำเข้าและแลกเปลี่ยน 12% จะเห็นว่า กฟผ. มีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าต่ำกว่า 50% คิดว่าเสถียรภาพการผลิตไฟฟ้าของประเทศดีหรือไม่ นั่นคือคำถามจากประชาชน
      ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (Independent Power Producer หรือ IPP)  คือโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่มีกำลังการผลิต มากกว่า 90 MW ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้รับซื้อ
      ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producer หรือ SPP) คือโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ที่มีกำลังการผลิต 10-90 MW ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้รับซื้อ
      ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมาก (Very Small Power Producer หรือ VSPP) คือโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก ที่มีกำลังการผลิตน้อยกว่า 10 MW ซึ่งการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นผู้รับซื้อ

      การผลิตไฟฟ้าสำรอง
      กำลังผลิตไฟฟ้าตามสัญญา (ม.ค.2566) รวม 53,384 MW ซึ่งค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด(Peak) ของปี 2565 ประมาณ 33,177 MW
          กำลังการผลิตไฟฟ้าสำรอง คิดรวมโรงไฟฟ้าทุกประเภท  = (53,384-33,177) / 33,177 = 61 %
          กำลังการผลิตไฟฟ้าสำรอง คิดเฉพาะโรงไฟฟ้าที่ผลิตได้เสถียร = (45,225-33,177) / 33,177 = 36 %
       มาตรฐานการผลิตไฟฟ้าสำรองควรมีค่า ประมาณ 15-20 การที่การผลิตไฟฟ้าสำรองสูงมากนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น เนื่องจาก กฟฝ. จะต้องเสียค่าพร้อมจ่าย(AP) มากขึ้น

     จากแผนภาพการเชื่อมโยงการผลิตและใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยนั้น จะเห็นว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) ทำการผลิตไฟฟ้าเองบางส่วน และทำการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ และซื้อไฟฟ้าจาก IPP และ SPP เพื่อส่งจ่ายไปยัง PEA และ MEA เพื่อขายแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าต่อไป และมีบางส่วนที่ EGAT ทำการขายตรงแก่ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่โดยไม่ผ่านการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย(PEA และ MEA) ในส่วนผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก(VSPP) นั้น จะขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ให้กับ PEA และ MEA โดยไม่ผ่าน EGAT นอกจากนั้นมี SPP บางแห่งทำการผลิตและขายให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรง



Credit | กรมอุตินิยมวิทยา, EPPO

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้