บิลค่าไฟฟ้าประกอบด้วยอะไรบ้าง และคิดค่าไฟฟ้าเราอย่างไร

Last updated: 12 ก.ย. 2566  |  1333 จำนวนผู้เข้าชม  | 

บิลไฟฟ้า

   

    โครงสร้างค่าไฟฟ้า ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้
     โครงสร้างค่าไฟฟ้า (บาท) = ค่าไฟฟ้าฐาน (บาท) +ค่าบริการ (บาท) + ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) (บาท) + ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม(บาท)
    ค่าไฟฟ้าฐาน มีการคำนวณจากต้นทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ได้แก่ ระบบส่ง ระบบจำหน่าย และค่าผลิตพลังงานไฟฟ้า ภายใต้สมมติฐานความต้องการไฟฟ้า โดยพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายในการลงทุนในการผลิต การจัดส่ง และการจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้า รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และผลตอบแทนที่เหมาะสมในการขยายการลงทุนในอนาคตของทั้ง กฟผ. กฟน. และ กฟภ. เป็นอัตราคงที่ โดยจะมีการปรับทุก 3-5 ปี ซึ่งค่าไฟฟ้าฐานในปัจจุบันใช้มาตั้งแต่เดือน พฤษจิกายน 2558
      ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) มีค่าสูงขึ้นมากตั้งแต่เดือน กันยายน 2565 เพื่อใช้หนี้ที่ค้างจ่ายให้กับ กฟผ. ในช่วงวิกฤตโควิด-19 และช่วงที่ราคาก๊าซธรรมชาติสูง ซึ่งในรอบใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าเดือน ม.ค.-มี.ค. ในประเภทบ้านอยู่อาศัยยังคงใช้ค่า Ft เท่าเดิม ดังนั้นค่าไฟฟ้าที่สูงมากที่ผ่านมาไม่ได้เกิดจากค่า Ft

   

1. ตาราง การคำนวณค่าไฟฟ้า  กรณีติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 5 แอมแปร์ 220โวลท์ หรือใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ติดต่อกัน 3 เดือน (ประเภท 1.1.1)

2. ตาราง การคำนวณค่าไฟฟ้า  กรณีติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าขนาดเกิน 5 แอมแปร์ 220 โวลท์ หรือใช้พลังงานไฟ้ฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน ติดต่อกัน 3 เดือน (ประเภท 1.1.2)

3. ตาราง การคำนวณค่าไฟฟ้า อัตราตามช่วงเวลาการใช้ (TOU) ที่ระดับแรงดันต่ำกว่า 12 กโลโวลท์ ประเภท 1.2 และ 2.2                                        

4. ตาราง การคำนวณค่าไฟฟ้าอัตราตามช่วงเวลาการใช้ (TOU) ที่ระดับแรงดันไฟฟ้า 22 – 33 กิโลโวลท์ ประเภท 3(3.2.2) และ 4(4.2.2) 

 



Credit | Egat

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้