ค่าไฟฟ้าสูงเกิดจากพฤติกรรมการใช้และสภาพอากาศจริงหรือ?

Last updated: 12 ก.ย. 2566  |  331 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ค่าไฟฟ้าสูง

   

     ในทุกปีค่าไฟฟ้าจะแพงในช่วงฤดูร้อน ตั้งแต่เดือน มีนาคม-พฤษภาคม ซึ่งการจดมิเตอร์ของ กฟน. จะบันทึกลงเครื่องบันทึกอิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงกลางเดือนของทุกเดือน เช่น ใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าของเดือนมีนาคม จะบันทึก 14 มีนาคม ถึง 13 เมษายน มิใช่การใช้ไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 31 มีนาคม ดังนั้นบางเดือนจำนวนวันน้อย บางวันมีฝนตก บางวันอากาศไม่ร้อน บางวันมีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าน้อย ส่งผลให้หน่วยค่าไฟฟ้าที่ใช้เปลี่ยนแปลงไป โดยทั่วไปฤดูร้อนจะมีการใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้นประมาณ 20-30% โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศ โดยทั่วไปถ้าอุณหภูมิอากาศภายนอกสูงขึ้นทุก 1 °C จะทำให้เครื่องปรับอากาศใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณ 3 % ดังนั้นแก้ไขได้โดยการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้โดยการปรับตั้งอุณหภูมิให้สูงขึ้นแล้วใช้พัดลมเป่าช่วย หรือลดเวลาการใช้งาน อีกอย่างที่ต้องไม่ลืมคือทำความสะอาดก่อนเข้าสู่ฤดูร้อน ส่วนอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ก็ควรบริหารจัดการการใช้โดยใช้เท่าที่จำเป็น ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนั้นควรเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และใช้ระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในขนาดที่เหมาะสม
      นอกจากที่กล่าวมาควรมีความรู้ว่า เราเสียค่าไฟฟ้าประเภทใดเช่น ประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย และใช้ไฟฟ้าอัตราอะไร เช่น อัตราปกติ 1.1.1 หรือ 1.1.2  หรืออัตรา TOU 1.2.1 หรือ 1.2.2 เป็นต้น ซึ่งอัตราปกติของบ้านอยู่อาศัยจะเป็นการคิดแบบก้าวหน้าหรือขั้นบันได คือยิ่งใช้มากค่าไฟฟ้าต่อหน่วยยิ่งแพงดังนั้นต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้และเปลี่ยนอุปกรณ์ให้ใช้ไฟฟ้าลดลง ส่วนใครใช้อัตรา TOU นั้น ค่าไฟฟ้าจะแพงมากในช่วงเวลา 9.00-22.00 น. ของวันจันทร์ ถึง ศุกร์ ดังนั้นต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าช่วงเวลาดังกล่าวให้น้อยที่สุด หรือผลิตไฟฟ้าใช้ในช่วงเวลานี้

     ประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นอย่างไร?
     การไฟฟ้ากำหนดประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าตามลักษณะของผู้ใช้และปริมาณการใช้เป็น 8 ประเภท โดยแต่ละประเภทจะใช้อัตราการคิดค่าไฟฟ้าแตกต่างกันดังนี้

ตาราง ประเภทและอัตราค่าไฟฟ้า    

     ประเภทที่ 1  บ้านอยู่อาศัย             
     ใช้สำหรับบ้านเรือนที่อยู่อาศัย รวมทั้งวัด สำนักสงฆ์ และสถานประกอบศาสนกิจของทุกศาสนา ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว
     ประเภทที่ 2  กิจการขนาดเล็ก
     มีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีสูงสุดต่ำกว่า 30 กิโลวัตต์ โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว
     ประเภทที่ 3  กิจการขนาดกลาง
     มีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีสูงสุดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ แต่ไม่ถึง 1,000 กิโลวัตต์ และมีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 3 เดือนก่อนหน้าไม่เกิน 250,000 หน่วยต่อเดือน โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว
     ประเภทที่ 4  กิจการขนาดใหญ่
     มีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีสูงสุดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ขึ้นไป หรือมีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 3 เดือนก่อนหน้าเกิน 250,000 หน่วยต่อเดือน โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว
     ประเภทที่ 5  กิจการเฉพาะอย่าง
     ใช้สำหรับประกอบกิจการโรงแรมและกิจการให้เช่าพักอาศัย ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ย ใน 15 นาทีสูงสุดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ขึ้นไป โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว
     ประเภทที่ 6  องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร
     ใช้สำหรับองค์กรที่มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการโดยไม่คิดค่าตอบแทน โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว
     ประเภทที่ 7  สูบน้ำเพื่อการเกษตร
     ใช้สำหรับเครื่องสูบน้ำเพื่อการเกษตรของหน่วยงานราชการ สหกรณ์เพื่อการเกษตร กลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรที่หน่วยงานราชการรับรอง โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว
     ประเภทที่ 8  ไฟฟ้าชั่วคราว
     ใช้สำหรับงานก่อสร้าง งานที่จัดขึ้นเป็นพิเศษชั่วคราว สถานที่ที่ไม่มีทะเบียนบ้าน และการใช้ไฟฟ้าที่ยังปฏิบัติไม่ถูกต้องตาม ระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว

     อัตราค่าไฟฟ้าเป็นอย่างไร?
     นำเสนอเฉพาะอัตราค่าไฟฟ้าที่มีการใช้มาก ดังนี้

1. อัตราปกติแบบก้าวหน้า ของผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 (1.1 และ 1.2)

2. อัตราตามช่วงเวลาการใช้(Time of Use Tariff ; TOU Tariff) ของผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 (1.3) และ 2 (2.2)

3. อัตราปกติ ของผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 2 (2.1) กิจการขนาดเล็ก

4. อัตราปกติ ของผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 3 (3.1) กิจการขนาดกลาง

5. อัตราตามช่วงเวลาการใช้(TOU)  สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 3 (3.2) และ 4 (4.2)

 

 

 



Credit | กระทรวงพลังงาน, EPPO, Egat

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้