ทิศทางและมุมเอียงของแผง ความเข้มแสงและอุณหภูมิแผงมีผลต่อการผลิตไฟฟ้าหรือไม่?

Last updated: 12 ก.ย. 2566  |  6155 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Solar cell

   

    ทิศทางและมุมเอียงของแผงเท่าใดถึงได้ไฟฟ้ามาก?

     การแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์นอกชั้นบรรยากาศโลกจะมีค่าความเข้มเฉลี่ยประมาณ 1,353 W/m2  ส่งมาถึงพื้นโลกประมาณ 70% หรือประมาณ 947 W/m2   ถ้าอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรจะได้รับความเข้มแสงสูง ซึ่งประเทศไทยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรโดยอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรไปทางขั้วโลกเหนือ (ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ)
     - ดวงอาทิตย์จะอ้อมไปทางใต้ ดังนั้นไม่ควรหันแผงไปทางทิศตะวันออกและทิศเหนือ โดยถ้าหันไปในทิศดังกล่าวจะทำให้ผลิตไฟฟ้าได้ลดลง 10-20%
     - ควรเอียงทำมุม 10-18 องศา โดยภาคใต้เอียง 10-13 องศา ภาคกลางเอียง 13-15 องศา และภาคเหนือเอียง 15-18 องศา โดยถ้าเอียงต่างจากที่กล่าวมาทุก 5 องศา จะผลิตไฟฟ้าได้ลดลงประมาณ 5-10% 



    ความเข้มแสงและอุณหภูมิแผงมีผลต่อการผลิตไฟฟ้าหรือไม่?

     พิกัดขนาดของแผง(WP) ทดสอบที่ความเข้มแสง 1,000 W/m2  อุณหภูมิ 25๐C ที่ AM 1.5 (Air Mass 1.5) ขณะที่แสงทำมุมตั้งฉากกับเซลแสงอาทิตย์  ในการใช้งานจริงจะได้ไฟฟ้าต่ำกว่าพิกัดแผงเพราะความเข้มแสงต่ำกว่าที่ทดสอบ และอุณหภูมิแผงสูงกว่าที่ทดสอบ โดยทั่วไปจะได้ไฟฟ้าไม่เกิน 80-90% และอีกการสูญเสียที่ Invertor ด้วย
      -กรณีที่ ความเข้มแสงตกกระทบแผงโซลาร์เซลล์ลดลง จะทำให้กระแสไฟฟ้าที่ได้ลดลง แต่แรงดันไฟฟ้าไม่เปลี่ยนแปลง
      -กรณีที่ อุณหภูมิแผงสูงขึ้น แรงดันไฟฟ้าจะลดลง โดยเฉลี่ยแล้วทุกๆ 1 องศาที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ แรงดันไฟฟ้าลดลง 0.5% ซึ่งแผง Mono จะมีผลมากกว่า Poly อุณหภูมิบ้านเรา loss ประมาณ 10-12% 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้