สิ่งที่ควรทราบ 1. กรณี On Grid และ Hybrid ที่เชื่อมต่อกับระบบจำหน่าย ต้องใช้อินเวอร์เตอร์ที่อยู่ในตารางแนะนำของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย 2. อินเวอร์เตอร์มีอายุสั้นกว่าแผงมากควรระบายความร้อนให้ดี และติดตั้งในจุดที่มีการระบายอากาศที่ดี 3. การรับประกัน 5-10 ปี 4. ต้องติดตั้งระบบป้องกันไฟย้อนกรณีที่ไม่ได้ขายไฟ ซึ่งบางรุ่นมีมาพร้อมอินเวอร์เตอร์ 4. ถ้าติดตั้งจำนวนมากควรแยกอินเวอร์เตอร์เป็นหลายชุดเพื่อเสถียรภาพการใช้งานแต่ราคาจะสูงขึ้น และที่สำคัญแต่ละชุดต้องมีสัญญาณที่เชื่อมต่อกันได้ 5. ควรเลือกอินเวอร์เตอร์ที่ผ่าน มอก. หรือมีมาตรฐานรับรอง 6. อินเวอร์เตอร์ On Grid ที่ใช้กันทั่วไปเป็นแบบ High Volt. 7. เลือกใช้ชนิดให้เหมาะสม เช่น On Grid, Off Grid ,Hybrid 8. กรณี Off Grid และใช้กับโหลดที่เป็นมอเตอร์ ควรใช้แบบขดลวดToroid เพราะทนกระแสกระชากได้ดีกว่าแบบสวิทชิ่ง 9. ค่าที่สำคัญที่ติดที่ Name plate - ค่า Max. DC power input คือค่ากำลังไฟฟ้าสูงสุดด้าน DC ที่ออกจากแผงและเข้าอินเวอร์เตอร์ โดยทั่วไปการออกแบบที่ให้อินเวอร์เตอร์ทำงานเต็มประสิทธิภาพนั้นจะติดตั้งแผงให้มีกำลังไฟฟ้ามากกว่ากำลังไฟฟ้าสูงสุดของอินเวอร์เตอร์ประมาณ 10-20% เนื่องจากกำลังไฟฟ้าตามพิกัดแผงได้จากการทดสอบตาม STC หรือ Standard Test Condition ที่ความเข้มแสง (Irradiance) 1000 W/m² แสงที่ผ่านชั้นบรรยายกาศ 1.5 เท่าของมวลอากาศ และที่อุณหภูมิแผง 25 องศาเซลเซียส เมื่อนำมาใช้งานจริงแล้วไม่ได้ตาม Condition ที่ทดสอบทำให้กำลังไฟฟ้าที่ได้ต่ำลง นอกจากนั้น ทิศและมุมเอียงในการติดตั้ง รวมทั้งความสกปรกของพื้นผิว ส่งผลต่อการลดลงของกำลังไฟฟ้าที่ได้ - ค่า Max. input voltage (V) คือค่าแรงดันไฟฟ้าสูงสุดที่รับได้ ซึ่งแรงดันไฟฟ้าจากแผงก่อนเข้าอินเวอร์เตอร์ ต้องไม่เกินค่านี้ เพราะถ้าเกินค่านี้ ถ้าอินเวอร์เตอร์ไม่มีตัวป้องกัน ก็จะทำให้อินเวอร์เตอร์เสียหายได้ หรือหากอินเวอร์เตอร์มีตัวป้องกัน ก็ไม่ควรที่จะต่อแผงอนุกรมจนมีค่าเกินค่านี้ โดยทั้วไปจะนำค่า Vmp ของแผงที่ต่ออนุกรมกันใน String มารวมกันต้องมีค่าไม่เกินค่านี้ - ค่า Min. input voltage คือ แรงดันไฟฟ้าเข้าอินเวอร์เตอร์ต่ำสุด และ แรงดันไฟฟ้าที่อินเวอร์เตอร์เริ่มทำงาน ตัวอย่างเช่น 150 V / start input voltage = 180 V คือ แรงดันไฟฟ้าเข้าอินเวอร์เตอร์ต่ำสุด 150 V และ แรงดันไฟฟ้าที่อินเวอร์เตอร์เริ่มทำงาน 180 V ถ้าแรงดันต่ำกว่าที่ระบุไว้อินเวอร์เตอร์จะไม่ทำงาน - ค่า Rated input voltage (V) คือค่าแรงดันไฟฟ้าที่ทำให้อินเวอร์เตอร์ทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นการต่ออนุกรมแผงโซล่าเซลล์ควรให้แรงดันไฟฟ้า ใกล้เคียงค่านี้มากที่สุด โดยใช้ Vmp ของแต่ละแผงรวมกัน - ค่า Max. input current input A / input B คือกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่เข้ามาในแต่ละ input ไม่เกินค่าที่ระบุไว้ ซึ่งผู้ออกแบบก็นำกระแสสูงสุดสภาวะช็อตเซอร์กิต Isc ของแผงในแต่ละ String มาคำนวณ เช่น นำแผง PV ที่มีค่า Isc 8 A. มาต่ออนุกรมกัน ทำให้ได้กระแสไฟฟ้า 8 A. แล้วเอาทั้ง 2 String มาต่อขนานกันก่อนเข้า input ของอินเวอร์เตอร์ ทำให้ได้กระแสไฟฟ้า 16 A. ค่านี้จะต้องไม่เกินที่กำหนด - ค่า Rated output power (W) คือค่าพิกัดกำลังไฟด้านออกของอินเวอร์เตอร์ (AC) ซึ่งไม่ควรติดตั้งแผงรวมกันแล้วมีกำลังเกินค่านี้ เพราะจะได้กำลังไฟฟ้าออกสูงสุดเท่าค่านี้ - ค่า Max. Output current (A) คือค่าไฟฟ้ากระแสสลับสูงสุด (AC) ที่ออกจากอินเวอร์เตอร์ ซึ่งใช้ออกแบบขนาดสายไฟฟ้าที่เชื่อมไฟยังตู้ไฟฟ้า - ค่า Nominal grid voltage คือค่าแรงดันไฟฟ้าที่ออกจากอินเวอเตอร์ไปใช้งาน - ค่า Max. Efficiency คือค่าประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะรับภาระเต็มพิกัด (อเมริกาไม่ต่ำกว่า 96%) - ค่า Euro- Efficiency คือค่าประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะรับภาระเต็มพิกัด (ยุโรปไม่ต่ำกว่า 95%) |