ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์

Last updated: 19 ส.ค. 2564  |  89076 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โครงการโซล่าเซลล์ภาคประชาชน

ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ ระบบออนกริด
แบบเข้าใจง่าย สไตล์ ECON SOLAR
โครงการ โซล่าร์ ภาคประชาชน

          สมัครเข้าร่วมโครงการออนไลน์ได้ที่ กฟน. และ กฟภ.
     ตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ. 64




 
       อันดับแรก ท่านต้อง เลือกบริษัทรับออกแบบติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ที่มีมาตรฐานการติดตั้ง เลือกใช้เครื่อง Inverter ที่ได้รับการรับรองจากทาง กฟน. และ กฟภ. รวมถึงอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆที่ได้รับมาตรฐาน นอกจากจะได้มาตรฐานตามที่การไฟฟ้าฯ กำหนดแล้ว ด้านความปลอดภัยก็มีความสำคัญมากไม่แพ้กัน

       หากเลือกบริษัทหรือผู้รับเหมาที่มีความรู้ไม่เพียงพอ อาจจะไม่ได้ติดตั้งสายกราวด์ DC หรือ AC บางราย ติดตั้งแต่สายกราวด์ AC เพียงอย่างเดียวก็มี หากเกิดฟ้าผ่าขึ้นมาเครื่อง Inverter ที่หลายๆเจ้าว่าแพงนักแพงหนาก็จะสิ้นชีพได้ รวมถึงเรื่องขนาดของสายไฟก็เหมือนกัน ระบบโซล่าเซลล์ต้องใช้สายไฟที่ผลิตมาสำหรับใช้งานกับระบบโซล่าร์เซลล์เท่านั้น รวมถึงต้องดูเรื่องขนาดของสายไฟอีกด้วย ไม่งั้นสายไฟอาจจะระเบิดออกจากขั้วก็มีตัวอย่างมาแล้วหลายต่อหลายราย และยังมีเรื่องของเอกสารที่ต้องกรอกรายละเอียดทางเทคนิคอีกมากมาย ในการยื่นขออนุญาติกับหน่วยงานภาครัฐ ทั้งแบบเอย สเปคเอย เยอะแยะไปหมด แนะนำว่าท่านควรหาบริษัทฯ ดีๆจะได้ไม่มีปัญหาให้ปวดหัวทีหลัง

  อ่านมาขนาดนี้แล้วก็เลือกเราสิทีมงาน ECON SOLAR ยินดีอย่างยิ่งที่จะดูแลท่านจนจบโครงการ  


       อันดับที่สอง บริษัทที่ท่านเลือกควรจะมีการออกแบบขนาดพิกัดติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ให้เหมาะสมกับการใช้งานไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน มีการตรวจสอบความมั่นคงความแข็งแรงของอาคารและจัดทำแบบการติดตั้งโดยให้วิศวกรโยธาเป็นผู้ตรวจสอบและลงนามจากนั้นติดต่อแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขต เทศบาล หรือ อบต. ในท้องที่ที่บ้านตั้งอยู่รับทราบการติดตั้งแผงโซลล่าเซลล์ บนหลังคาที่พักอาศัย โดยการยื่นเอกสาร อ.1 (ใบอนุญาติก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร)
       
       สิ่งที่ต้องเตรียม คือ
  •  แบบคำขอ ข.1
  •  แบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา โครงสร้างรองรับแผงโซล่าเซลล์ รายละเอียดการติดตั้ง
  •  รายการคำนวณโครงสร้าง แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร เอกสารรองรับของวิศวกรผู้ออกแบบและควบคุมงาน (โยธา)

 

       เริ่มดำเนินการตามขั้นตอนต่อได้เลย

  1.  ติดต่อการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) เพื่อกรอกคำขอขายไฟฟ้าผ่านระบบ Online                               และ Upload เอกสารตามกำหนด
      เข้าเว็บไซต์การไฟฟ้านครหลวง (โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา)
      https://spv.mea.or.th/
      คลิกดูคู่มือโครงการ Solar ประชาชน ของ กฟน.
      https://www.mea.or.th/minisite/vspp/about/843
      เข้าเว็บไซต์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
      https://ppim.pea.co.th/
      คลิกดูโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย ของ กฟภ.
      https://ppim.pea.co.th/project/solar/detail/5ce68a82de1e5f00634179ae
  1.  การไฟฟ้าฯ ตรวจสอบข้อมูล พร้อมแจ้งผลการพิจารณาทาง E-mail และทางเว็บไซต์
  2.  ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ติดต่อยื่นเอกสาร พร้อมชำระค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ การไฟฟ้าฯ
  3.  การไฟฟ้าฯ เข้าตรวจสอบระบบผลิตไฟฟ้า และดำเนินการเปลี่ยนเครื่องวัดแบบอ่านหน่วยไฟฟ้าได้ 2 ทิศทาง
  4.  บริษัทฯ ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) แล้วเสร็จ
  5.  ติดต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อยื่นขอจดแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตการผลิตไฟฟ้า                   ผ่านระบบ Online กรณี Inverter < 1,000 kVA

       ขั้นตอนการลงทะเบียนออนไลน์
     ลงทะเบียนออนไลน์เพื่อขอ Account (ลิงค์ช่องทางเข้าเว็บไซต์ http://app04.erc.or.th/elicense/login.aspx )
       *** คลิกที่ลงทะเบียนผู้ประกอบกิจการพลังงาน   
     รอทาง กกพ. ส่ง E-mail มาแจ้ง Username และ Password สำหรับเข้าเว็บเพื่อแจ้ง ยกเว้นฯ
       *** หากไม่ได้รับ E-mail สามารถติดต่อโทร. 1204 หรือ 02-2073599 ต่อ 719 หรือส่งเมล์ license@erc.or.th ***
     เมื่อได้รับ Username และ Password แล้วให้อัพโหลดเอกสารที่ทาง กกพ. ต้องการลงเว็บให้ครบถ้วน
     รอ E-mail แจ้งผลจากทาง กกพ.เพื่อให้นำเอกสารตัวจริงไปยื่นที่ กกพ. เขตพื้นที่ฯ
     กกพ. เขตพื้นที่ฯ แจ้งผลการพิจารณา ให้เข้ารับเอกสาร “ใบรับแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นฯ
       ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า”   

        สิ่งที่ต้องเตรียม
      ภาพถ่ายแสดงการติดตั้งอุปกรณ์แผงโซล่าเซลล์และอินเวอร์เตอร์
      สำเนาหลักฐานการยื่นแจ้งจากหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น
      แบบ Single Line Diagram ทางการไฟฟ้า พร้อมวิศวกรไฟฟ้ากำลังลงนามรับรอง
      แบบแปลนโครงสร้างการติดตั้งและรายการคำนวณโครงสร้าง พร้อมวิศวกรโยธาลงนามรับรอง
      Mini CoP Checklist และ Specification Sheets ของอุปกรณ์
  1.  ติดต่อ การไฟฟ้าฯ เพื่อตรวจสอบและทดสอบการเชื่อมต่อ
 
       ข้อควรทราบ
     ข้อมูลนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้เห็นภาพรวมขั้นตอนการขออนุญาต หากท่านต้องการจะดำเนินการขออนุญาตเอง
       แนะนำการดำเนินการเองนั้นจะเสียเวลาค่อนข้างมาก เนื่องจากต้องติดต่อหน่วยงานภาครัฐทั้ง 3 หน่วยงาน
       นอกจากนั้นยังมีเรื่องรายละเอียดการกรอกเอกสาร เตรียมเอกสารทางราชการต่างๆนานา
       ทำแบบเขียนแบบและต้องมีวิศวกรทั้งไฟฟ้าและโยธาเซ็นต์รับรองอีกด้วย แต่หากท่านมีเวลาจะลองดูก็ไม่เสียหลาย
     การกรอกแบบฟอร์มต่างๆ ท่านต้องศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บ กกพ. กฟน. และ กฟภ. อย่างละเอียดอีกครั้ง
     กฟน. >>> การไฟฟ้านครหลวง >>> mea.or.th >>>แบ่งเป็น 18 เขตพื้นที่ ต้องประสานงานตามพื้นที่ท่านอยู่
       สามารถดูรายละเอียดสถานที่ตั้ง กฟน. แต่ละเขตได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้
        https://www.mea.or.th/map/district_office
     กฟภ. >>> การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค >>> แบ่งเป็น 12 เขตพื้นที่ ทั่วประเทศ ซึ่งก็ต้องประสานงานตามพื้นที่ที่ท่านอยู่
       สามารถดูรายละเอียดสถานที่ตั้ง กฟภ.แต่ละเขตได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้
       https://www.pea.co.th
     กกพ. >>> คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน >>> แบ่งเป็นโซนออกทั้งหมด 13 เขต ทั่วประเทศ
       โดย กกพ.เขต 13 ดูแล กทม., นนทบุรี และสมุทรปราการ สามารถดูรายละเอียดสถานที่ตั้ง กกพ. แต่ละเขตได้ที่นี่
       http://www.erc.or.th/OERCWeb/Front/StaticPage/StaticPageContactUs

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้